อิฐกลวงไม่รับน้ำหนักคืออะไร? รู้จักมาตรฐาน มอก. 153-2565 แบบเข้าใจง่าย

4/21/2025
อิฐกลวงไม่รับน้ำหนักคืออะไร? รู้จักมาตรฐาน มอก. 153-2565 แบบเข้าใจง่าย

มาตรฐาน มอก. 153-2565 สำหรับอิฐกลวงก่อแผงไม่รับน้ำหนัก

อิฐกลวงก่อแผงไม่รับน้ำหนัก เป็นก้อนวัสดุดินเผาที่มีรูกลวง ใช้สำหรับก่อผนังหรือก่อแผงที่ไม่รับน้ำหนักใด ๆ นอกจากน้ำหนักตัวเอง

 

ประเภทของอิฐ

  • ประเภท 1 – มีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของขนาดน้อยที่สุด
  • ประเภท 2 – มีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนมากกว่าประเภท 1

ขนาดของอิฐตามมาตรฐาน มอก. 153-2565

ขนาด (กว้าง x สูง x ยาว) มม.
190 x 60 x 100
150 x 60 x 60
75 x 65 x 40
160 x 65 x 40
190 x 65 x 90
120 x 65 x 110
250 x 65 x 110
210 x 65 x 105
230 x 70 x 135
90 x 80 x 70
190 x 80 x 70
120 x 80 x 120
250 x 80 x 120

 

เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของขนาดอิฐ

ขนาด (มม.) ประเภท 1 (มม.) ประเภท 2 (มม.)
< 100 ±2 ±3
100 - 150 ±3 ±5
150 - 200 ±4 ±6
200 - 300 ±5 ±8

 

ตัวอย่าง: ถ้ามาตรฐานอิฐมีขนาด 190 x 60 x 100 มม.

แปลว่าอิฐก้อนนี้จะมีขนาดอยู่ในช่วงประมาณ:

  • ประเภท 1: กว้าง 186-194 มม., สูง 58-62 มม., ยาว 97-103 มม.
  • ประเภท 2: กว้าง 184-196 มม., สูง 57-63 มม., ยาว 95-105 มม.

 

คุณลักษณะที่ต้องการ

  • ต้องไม่มีรอยร้าวหรือส่วนเสียที่เป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้าง
  • ต้องมีผิวหยาบทุกด้าน
  • อิฐแต่ละก้อนต้องมีสี ลวดลาย และแบบใกล้เคียงกัน

 

ความสามารถในการดูดซึมน้ำ

ชั้นคุณภาพ ค่าเฉลี่ย (5 ก้อน) % แต่ละก้อนสูงสุด %
10 10
14 16
20 24

 

ความหนาแน่นเชิงปริมาตร

ชนิด ความหนาแน่นเฉลี่ย (กก./ลบ.ม.)
มวลเบา ไม่เกิน 1,000
มวลทั่วไป มากกว่า 1,000

 

การบรรจุและฉลากของอิฐ

อิฐกลวงต้องถูกบรรจุบนแผงรองรับที่เหมาะสม ใช้วัสดุผูกมัดหรือห่อหุ้มให้แข็งแรงเพื่อป้องกันความเสียหายระหว่างขนส่งและจัดเก็บ

ดูสินค้าอิฐตันที่ผ่านมาตรฐาน มอก. 153-2565 ได้ที่นี่

🔗 อิฐมอญ 3 รู ใหญ่ มอก. 153-2565 ประเภท 2

 

🔗 บทความเกี่ยวกับ มอก สำหรับ อิฐตัน 77-2565 (คลิ๊กที่นี่)